วิธีเลือกทนายความ
คำแนะนำจากทนายภูวงษ์ โพธิ์ไทร ประธานเครือข่ายทนายความ
ในการว่าจ้างทนายความ
* สอบถามเพื่อนหรือคนรู้จักว่ารู้จักกับทนายความคนใหนบ้าง เลือกที่อยู่ใกล้บ้านคุณหรือใกล้ศาลที่คดีเกิดนะครับ หรือ
* ค้นหาชื่อทนายจาก Google มาสัก 2 ชื่อ
* โทรหาทนายทีละคนสนทนาปัญหาปรึกษาให้ครบ สอบถามอัตราค่าจ้างให้เรียบร้อย ถ้าจะให้ดียอมจ่ายค่าที่ปรึกษาบ้าง จะจ่ายแบบปรึกษาครั้งเดียวเป็นรายชั่วโมง เลือกปรึกษาตลอดคดี หรือเลือกแบบรายปีก็มีเช่นกัน เบื้องต้นเลือกปรึกษารายชั่วโมงก่อนนะครับ (ชั่วโมงละ 1000-5000 บาท) ไม่แพงครับ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของทนายความแต่ละคน
* เลือกทนายความคนที่คุณสนทนาและคิดว่าใช่ น่าจะช่วยคุณได้ คิดว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาให้คุณได้แน่
* ทำสัญญาจ้างหรือตกลงจ้างทางไลน์ เมสเซ็นเจอร์ หรืออีเมลก็ได้ ควรแบ่งจ่าย ศาลชั้นต้น อุทธรณ์หรือฎีกา แบ่งจ่ายเป็นงวดๆ เช่นงวด 1 ตกลงจ้าง งวดที่ 2 ขึ้นศาล งวดที่ 3 สืบพยาน
* อย่าลืมไปเยี่ยมชม สำนักงานทนายความคนที่ท่านว่าจ้างนะครับ คุณจะได้รู้ว่าในสำนักงานมีทนายความกี่คน มีทีมงานมั้ย สำคัญคือน่าเชื่อถือหรือไม่
* ควรเลือกทนายความที่อยู่ใกล้คุณ หรือทนายใกล้ศาล เพราะท่านจะไม่ต้องจ่ายค่าเดินทางและค่าที่พักให้กับทนายเวลาไปทำงานให้คุณ ยกเว้นคดีที่มีอัตราโทษสูงๆ คุณควรเลือกทนายความที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเป็นสำคัญ
* ตกลงกับทนายความส่งรายงานคดีหรือการทำงานแต่ละครั้งที่ไปทำงานให้คุณด้วย
* ถ้าคดีที่มีอัตราโทษสูงหรือจำนวนเงินค่าเสียหายเยอะควรจ้างเป็นทีม หรือเลือกทนายที่มีประสบการณ์ในคดี ให้ดูที่ผลงานหรือข้อมูลที่ตรวจสอบได้
หมายเหตุ หากท่านไม่รู้จักทนายความคนใหนเลย แนะนำให้ติดต่อทนายความพื้นที่และทนายความในเวปไซต์นี้ได้เลย เพราะเครือข่ายได้ตรวจสอบแล้วว่าเป็นทนายความจริง มีประสบการณ์ในการทำงานจริงไว้ใจได้ครับ
คำแนะนำจากวารสารศาลยุติธรรม
คำแนะนำ (ศาล) 10 ประการ
ในการแต่งตั้งทนายความ
1. ขอดูใบอนุญาตทนายความ ต้นฉบับผู้ประกอบอาชีพทนายความ ต้องได้รับอนุญาตจากสภาทนายความเท่านั้น
2. ถามทนายความว่า มีความสัมพันธ์ส่วนได้อะไรหรือเคยทำงานให้กับบุคคลที่จะเป็นคู่ความกับต้นหรือไม่ เพราะหากมีการแต่งตั้งให้เป็นทนายแล้ว ทนายความบางคนอาจจะมีผลประโยชน์ขัดกันในการทำหน้าที่เป็นทนายความให้แก่ลูกความ
3. สอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายในคดีและค่าทนายความ เนื่องจากทนายความมีวิธีการเรียกค่าใช้จ่ายและค่าทนายความไม่เหมือนกัน ซึ่งโดยทั่วไปทนายความจะขอให้ลูกความเล่าเรื่องย่อ แล้วจะให้ความเห็นและแนวทางการปฏิบัติตามกฎหมายก่อนจึงจะกำหนดค่าใช้จ่ายและค่าทนายความ ซึ่งควรสอบถามรายละเอียดหรือข้อสงสัยเพื่อให้ทนายความอธิบายให้ชัดเจนด้วย
4. เมื่อได้สอบถามปัญหาต่างๆ จนเป็นที่พอใจว่า จะว่าจ้างทนายความคนดังกล่าวแล้ว ก็ควรส่งมอบข้อมูลคดีให้ทนายความดำเนินการโดยให้ทำหลักฐานการรับเอกสารไว้ด้วย
5. ควรขอให้ทนายความทำหนังสือสัญญาว่าความให้ละเอียดถูกต้องตามที่ได้เจรจากันมา หากมีข้อสงสัยในหนังสือสัญญาข้อใดไม่ชัดเจนก็ขอให้ทนายความชี้แจงและขยายความเพื่อมิให้เป็นปัญหาในภายหลัง
6. ควรเก็บสำเนาเอกสารที่ส่งมอบให้แก่ทนายความตลอดจนเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคดีให้เป็นหมวดหมู่เพื่อประโยชน์ในการค้นหาและติดตามคดี
7. ควรติดตามผลคดีอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะได้มอบหมายให้ทนายความดำเนินการแล้วก็ตาม เพราะผลดีหรือผลเสียแห่งคดีย่อมต้องตกแก่คู่ความตัวลูกความเพียงฝ่ายเดียว โดยให้บันทึกหมายเลขคดีดำและชื่อศาลไว้เป็นหลักฐาน
8. หากคู่ความฝ่ายตรงข้ามติดต่อมาหรือมีข้อมูลอื่นเพิ่มเติม ต้องรีบแจ้งให้ทนายความทราบทันที เพราะอาจจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินคดี
9. เมื่อมีปัญหาข้อข้องใจเกี่ยวกับคดีให้รีบสอบถามหรือขอคำอธิบายจากทนายความทันทีอย่ามัวแต่เกรงใจเพราะปัญหาข้อข้องใจดังกล่าวอาจทำให้ผลงานของคดีได้รับความเสียหายหรือกลายเป็นปัญหาใหญ่ติดตามมาก็ได
10. ค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมที่ชำระให้แก่ศาล ศาลจะออกใบเสร็จรับเงินให้ทุกครั้ง หากมีข้อสงสัยควรตรวจสอบใบเสร็จรับเงินจากทนายความ
หากในใบแต่งตั้งทนายกำหนดให้ทนายมีอำนาจรับเงินจากศาลและคู่ความยังไม่ได้รับเงินคู่ความควรตรวจสอบจากทนายความและศาลว่ามีการรับเงินแทนแล้วหรือไม่