ทนายความจังหวัดนครนายก

ทนายความจังหวัดนครนายก

เปิดหน้าต่อไป

รู้จักเมืองนครนายก

ตราประจำจังหวัดนครนายก

ตราประจำจังหวัดนครนายก

คำขวัญจังหวัดนครนายก

"เมืองในฝันที่ใกล้กรุง ภูเขางาม น้ำตกสวย รวยธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ"

มารู้จักจังหวัดนครนายก

จังหวัดนครนายก มีระยะทางจากจากกรุงเทพมหานคร ตามถนนสาย รังสิต-นครนายก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305) ผ่านอำเภอองครักษ์ถึงจังหวัดนครนายก ระยะทาง 105 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 2,122 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 1,326,250 ไร่ สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบ ทางตอนเหนือและตะวันออกเป็นภูเขาสูงชันในเขตอำเภอบ้านนา อำเภอเมืองนครนายก และอำเภอปากพลี ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับอีก 3 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี นครราชสีมา และปราจีนบุรี ซึ่งมีเทือกเขาติดต่อกับทิวเขาดงพญาเย็น มียอดเขาสูงที่สุดของจังหวัดคือ ยอดเขาเขียวมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,351 เมตร ส่วนทางตอนกลางและตอนใต้เป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่เรียกว่า “ที่ราบกรุงเทพฯ”

 

"นครนายก" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ นครนายก (แก้ความกำกวม)จังหวัดนครนายกจังหวัดการถอดเสียงอักษรโรมัน • อักษรโรมันChangwat Nakhon Nayok(ตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน): วัดอุดมธานี, หลวงพ่อปากแดงที่วัดพราหมณี, ป่าไผ่วัดจุฬาภรณ์วนาราม, ศาลพระรูปมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตองครักษ์, เขื่อนขุนด่านปราการชล
ธง
ตราคำขวัญ: นครนายก เมืองในฝันที่ใกล้กรุง
ภูเขางาม น้ำตกสวย
รวยธรรมชาติ ปราศจากมลพิษแผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครนายกเน้นสีแดงประเทศ ไทยการปกครอง • ผู้ว่าราชการ สุภกิณห์ แวงชิน[1]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2566)พื้นที่[2] • ทั้งหมด2,122.0 ตร.กม. (819.3 ตร.ไมล์)อันดับพื้นที่อันดับที่ 67ประชากร (พ.ศ. 2564)[3] • ทั้งหมด260,433 คน • อันดับอันดับที่ 72 • ความหนาแน่น122.73 คน/ตร.กม. (317.9 คน/ตร.ไมล์) • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 40รหัส ISO 3166TH-26สัญลักษณ์ประจำจังหวัด • ต้นไม้สุพรรณิการ์ • ดอกไม้สุพรรณิการ์ • สัตว์น้ำปลาตะเพียนทองศาลากลางจังหวัด • ที่ตั้งถนนสุวรรณศร ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก 26000 • โทรศัพท์0 3731 4575เว็บไซต์http://www.nakhonnayok.go.th/ ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นครนายก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง (บางหน่วยงานจัดให้อยู่ในภาคตะวันออก) ของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489

ประวัติศาสตร์

สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองสมัยทวารวดี มีหลักฐานแนวกำแพงเนินดินและสันคูอยู่ที่ตำบลดงละคร แต่นครนายกนั้นปรากฏหลักฐานในสมัยอยุธยาเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันออกในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 รัชกาลที่ 5 ทรงจัดลักษณะการปกครองโดยแบ่งเป็นมณฑล นครนายกได้เข้าไปอยู่ในเขตมณฑลปราจีนบุรีจนเมื่อปี พ.ศ. 2445 ทรงเลิกธรรมเนียมการมีเจ้าครองเมืองและให้มีตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดขึ้นแทน ในช่วง พ.ศ. 2486-2489 นครนายกได้โอนไปรวมกับจังหวัดปราจีนบุรีและสระบุรี หลังจากนั้นจึงแยกเป็นจังหวัดอิสระ

ในเอกสารโบราณ

จังหวัดนครนายก ระหว่างปี พ.ศ. 2382 - 2387 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชาวต่างประเทศคือ บาทหลวงปาเลอกัวซ์ และ ดาเวนพอร์ท เดินทางมาถึงเมืองนครนายก และได้บันทึกว่า เมืองนครนายกมีพลเมืองประมาณ 5,000 คน ส่วนมากเป็นชาวลาว และมีชาวสยามอยู่ด้วย ราษฎรประกอบอาชีพในการปลูกข้าวและหาของป่าส่งไปขายที่กรุงเทพ

เขตการปกครอง

อำเภอในจังหวัดนครนายก

  1. เมืองนครนายก
    ที่อยู่  ถ.ศรีเมือง ต.นครนายก อ.เมือง จ.นครนายก 26000
    โทรศัพท์ : 0-3731-1270
    โทรสาร: 0-3731-2721
    อีเมล :
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

  2. อำเภอปากพลี
    ตั้งอยู่ริมถนนสุวรรณศร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 บ้านท่าแดง หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
    โทรศัพท์ : 0-3739-9699, 0-3739-9652
    โทรสาร: 0-3739-9699
    อีเมล:
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

  3. องครักษ์
    ที่อยู่  หมู่ 1 ถนนสุขาภิบาล 10 อำเภอองค์รักษ์ จังหวัดนครนายก 26120
    โทรศัพท์ : 0-3739-1394
    โทรสาร : 0-3739-1394
    อีเมล :
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  

  4. บ้านนา
    ที่อยู่ หมู่ 2 ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก 26110
    โทรศัพท์ : 0-3738-1842
    โทรสาร: 0-3738-1842
    อีเมล :
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567  
X